สพฐ. ร่วมยินดี ครบรอบ 63 ปี วช. ต่อยอดโครงงานวิจัยสู่นวัตกรรม

สพฐ. ร่วมยินดี ครบรอบ 63 ปี วช. ต่อยอดโครงงานวิจัยสู่นวัตกรรม

ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตนได้นำทีม สพฐ. ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ครบรอบ 63 ปี “63 ปี วช. มุ่งสู่สังคมอุดมปัญญา พัฒนาไทย ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-28 ตุลาคม 2565 ณ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โดยมี ผอ.สพม.กท.เขต 1 และ 2, รอง ผอ.สพม.กท.เขต 2, ผอ.รร.วัดสุทธิวราราม, ผู้แทนจาก สวก. สบว. สมป., นักเรียนและครูจาก รร.วัดสุทธิวราราม รร.สันติราษฎร์วิทยาลัย และ รร.ลาดปลาเค้าพิทยาคม ร่วมงานด้วย

สำหรับงาน “63 ปี วช. มุ่งสู่สังคมอุดมปัญญา พัฒนาไทย ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” มีกิจกรรมภายในงาน 3 ส่วน ได้แก่ 1) การประชุมทางวิชาการ 2) การฝึกอาชีพและให้ความรู้ และ 3) การถ่ายทอดความรู้พื้นที่ปลูกพืชในเมือง

โดยนางเกศทิพย์ พร้อมคณะจาก สพฐ. ได้เยี่ยมชมนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจ อาทิ นิทรรศการ “ชิม ช้อป เพลิน เดินตลาดงานวิจัย” ซึ่งมีผลผลิตที่หลากหลายจากงานวิจัยต่างๆ มานำเสนอในงาน ไม่ว่าจะเป็น อาหารสด (พืชผัก/ผลไม้) อาหาร/เครื่องดื่มแปรรูป ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ยาและสมุนไพร ศิลปหัตถกรรม สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ไม้ดอกไม้ประดับ และชีวภัณฑ์ ต่างๆ เป็นต้น

จากนั้น ได้เยี่ยมชมการฝึกอาชีพและให้ความรู้ การทำสมุดโน้ตดอกไม้แห้ง และเยี่ยมชมศูนย์เกษตรวิถีเมือง รวมถึงโรงงานต้นแบบผลิตแอลกอฮอล์ไร้น้ำของประเทศไทย ตามลำดับ ซึ่งคณะจาก สพฐ. ให้ความสนใจกับกิจกรรมต่างๆ อย่างมาก เพราะมีความหลากหลาย และเป็นตัวอย่างที่สามารถนำไปต่อยอดใช้งานได้จริง

ดร.เกศทิพย์ กล่าวต่อไปว่า จากการมาเยี่ยมชมงานครบรอบ 63 ปี วช. ในครั้งนี้ พบว่า งานวิจัยที่ได้รับทุนจาก วช. เป็นงานวิจัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน ต่อยอดสู่การใช้งานจริงและอาชีพ

รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้จากงานวิจัยต้นแบบของประเทศมากมาย อาทิ “โรงงานต้นแบบผลิตแอลกอฮอล์ไร้น้ำของประเทศไทย” ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณส่งเสริมการวิจัย จนประเทศไทยได้มีน้ำมันไบโอดีเซลและแก๊สโซฮอล์อย่างทุกวันนี้

สพฐ. ร่วมยินดี ครบรอบ 63 ปี วช. ต่อยอดโครงงานวิจัยสู่นวัตกรรม

อีกทั้งยังมี “ศูนย์เกษตรวิถีเมือง” ซึ่ง วช. ได้พัฒนาพื้นที่รกร้างกลางเมืองให้กลายเป็นศูนย์เกษตรตามแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทยที่มุ่งต่อยอดจุดแข็งของประเทศให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม

โดยอาศัยกลไกทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง โดยสามารถใช้พื้นที่ของ วช. เป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาต่อยอดจากงานวิจัยที่มีอยู่เพื่อสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับประเทศด้วยนวัตกรรมของคนไทยอย่างแท้จริง

“จะเห็นได้ว่างานวิจัยที่นี่ได้มีการต่อยอด มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะนำมาต่อยอดดำเนินการให้กับนักเรียนของเรา จากโครงงานสู่การนำไปใช้จริง จากตัวอย่างที่มีให้เห็นมากมาย โดยเฉพาะการนำสิ่งต่างๆ มาใช้ได้จริง บนพื้นฐานของความคิด จากการวางแผน และการมองไปถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ “ศูนย์เกษตรวิถีเมือง” ซึ่ง วช. ได้พัฒนาพื้นที่รกร้างกลางเมืองให้กลายเป็นศูนย์เกษตรตามแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจ BCG โดย B = Bio-economy เศรษฐกิจชีวภาพ เป็นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมพัฒนาต่อยอดจากฐานความเข้มแข็งเดิมที่มี, C = Circular Economy เศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นการนำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดปริมาณของเสียให้น้อยลงหรือเท่ากับศูนย์ โดยปรับการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และ G = Green Economy เศรษฐกิจสีเขียว เป็นการพัฒนาที่คำนึงถึงความยั่งยืน การใช้ทรัพยากรที่เหมาะสมและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เราจะเห็นว่าแหล่งเรียนรู้เหล่านี้เป็นต้นแบบที่สำคัญที่นักเรียนของเราสามารถเข้ามาเรียนรู้ และนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้จริง ซึ่งทางผู้อำนวยการเขตพื้นที่ทั้ง สพม.กท. 1 และ 2 ได้เห็นประโยชน์ในการนำไปต่อยอดให้กับโรงเรียน คุณครู ตอบโจทย์ KPI ของ เลขาธิการ กพฐ. รวมทั้งทีม 5 สำนัก ของ สพฐ. ส่วนกลาง ถือเป็นการจุดประกายความคิด ที่จะนำความรู้จากโครงงานนักเรียนสู่นวัตกรรมที่ใช้ได้จริง คืนสิ่งดีดีให้ชุมชน สร้างความภาคภูมิใจในนักเรียน ครู โรงเรียน ผู้ปกครอง สพฐ. และ ศธ. นำต่อยอดตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติของรัฐบาลต่อไปค่ะ” รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าว

ทั้งนี้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 มาตรา 13 กำหนดให้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรม การจัดทำฐานข้อมูลและดัชนีด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ

โดยริเริ่ม ขับเคลื่อน และประสานการดำเนินงานโครงการวิจัยและนวัตกรรมที่สำคัญของประเทศ การจัดทำมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย การส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม และการให้รางวัล ประกาศเกียรติคุณ หรือยกย่องบุคคลหรือหน่วยงานด้านการวิจัยและนวัตกรรม

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ จึงส่งเสริมการวิจัยกับหน่วยงานการศึกษาและบุคคลทั่วไป เพื่อต่อยอดจากต้นทุนที่มีอยู่เดิม ทั้งด้านความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม สู่ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระดับนานาชาติ

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ utrechtcityjobs.com

ufa slot

Releated